ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาวัดจำปานคร(วัดบ้านดงไหม่ )

              ประมาณเมื่อปี พ.2231 เมืองเวียงจันทร์ศูนย์กลางของอาณาจักรล้านช้างได้เกิดความไม่สงบ พระครูโพนสะเม็ด พร้อมพรรคพวกประมาณ 3,000 คน ได้อัญเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์อพยพมาตามลำโขงในที่สุดได้ตั้งมั่นอยู่บริเวณเมืองจำปาศักดิ์ ซึ่งมีนางเพาและนางแพงเป็นหัวหน้าปกครอง ด้วยความเลื่อมศรัทธาในพระครูโพนสะเม็ด นางเพาและนางแพงจึงนิมนต์ให้ท่านมาทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและปกครองเมืองจำปาศักดิ์ ต่อมาเจ้าหน่อกษัตริย์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร    
              เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร และพระครูโพนสะเม็ด(บางแห่งให้ชื่อว่าเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ด) ได้ปรึกษษหาลือกันที่จะขยายเมืองออกไปให้กว้างขึ้นเพื่อจะได้มีอำนาจเหนือฝั่งแม่น้ำโขงจึงมอบหมายให้ราชวงศ์ผู้มีความชำนาญในการทำศึกและไว้วางพระราชหฤทัยไปครองเมืองต่างๆ และไปสร้างเมืองขึ้นไหม่หลายๆเมืองภายใต้อาณาจักรเวียงจันทร์และเมืองจำปาศักดิ์



ผู้ก่อตั้งวัดจำปานคร (วัดบ้านดงไหม่)
ประวัติจารย์แก้ว บรรพบุรุษชาวอีสาน
       จารย์แก้ว หรือ ท่านแก้ว หรือ เจ้าแก้วบูฮม หรือ  เจ้าแก้วมงคล ผู้ตั้งเมืองท่งศรีภูมิเป็นคนแรก และถือว่าเป็น บรรพบุรุษชาวอีสาน มีประวัติความเป็นมาโดยสังเขป
       พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ผู้ครองนครเวียงจันทร์ พร้อมกับพระครูทั้งหลายได้ประกอบพิธียกพระครูสีดา ผู้ซึ่งรอบรู้พระไตรปิฎกและประพฤติธรรมอันสูงส่งขึ้นเป็นพระครูนามว่า พระครูโพนสะเม็ด
       พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต จัดหาโยมอุปัฏฐากปรนนิบัติพระครูโพนสะเม็ด 2 คน คือ เท้าแก้ ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระองค์ และท้าวฮวด
       ท้าวแก้วเป็นผู้มีความเฉลียวฉลาดมาก เรียนศีลปะความรู้ทั้งปวงสำเร็จทุกประการ เมื่อครบอายุ 21 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
       ประมาณปี พ. 2232 พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตถึงแก่พิราลัย พระองค์มีพระโอรสองหนึ่งพระชนมายุได้ 3 พรรษาทรงพระนามว่า เจ้าหน่อกษัตริย์ พระยาเมืองแสน(หมายถึงผู้มีหน้าที่ในการกำกับกำกับฝ่ายทหาร)คิดจะชิงราชสมบัติแต่มีความเกรงกลัวพระครูโพนเสม็ด จึงคิดจะกำจัดพระครูโพนสะเม็ดเสียก่อน แต่ท่านครูโพนสะเม็ดล่วงรู้ความจริงจึงได้อัญเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์และพระมารดาอพยพออกจากนครเวียงจันทร์ไปพำนักอยู่ ณ นครกาลจำบากนาคบุรีศรี โดยมีราษฎรชายหญิง 3,333 คน และ พระภิกษุแก้ว พระภิกษุฮวดติดตามไปด้วย
       ประมาณ พ.2256 พระครูโพนสะเม็ดพร้อมด้วยกรมการได้เชิญเจ้าหน่อกษัตริย์ขึ้นเป็นเจ้าเอกราชครองสมบัตินครกาลจำบากนาคบุรีถวายนาม เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกรู และเปลี่ยนแปลงนาม นครกาลจำบากนาคบุรีศรี เป็น นครจำปาศักดิ์นัคบุรีศรี
       ประมาณ พ.2261 เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร เห็นว่าท้าวจารย์แก้ว(พระภิกษุแก้วซึ่งลาสิกขาบทแล้ว) เป็นผู้มีความรู้ ความมารถจึงแต่งตั้งให้เป็นผู้เกณฑ์ไพร่พลประมาณ 3,000 คน ไปตั้งบ้านเรือนปกครองเมืองท่ง (ทุ่ง) ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ ขึ้นตรงต่อนครจำปาศักดิ์ได้รับมอบหมายโดยปันเขตแดนให้รักษาเขตแดนป่าเหนือ ตั้งแต่ยางสามต้น อ้นสามขวย หลักทอดยอด ยังตะวันออก และข้ามฝั่งตะวันออกต่อแดนเวียดนาม ข้ามฝั่งตะวันตกับแต่ห้ยก๊ากวากถึงปากขยุงแดนเมืองพิมาย
       จะเห็นได้ว่าเขตแดนความรับผิดชอบการปกครองเมืองท่งของจารย์แก้วมีพื้นที่กว้างขวางที่อำเภอสุวรรณภูมิปัจจุบันหลายสิบเท่า
เมืองท่ง มีปริศนาประจำเมืองว่า เมืองสระสี่แจ แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก
       จารย์แก้วมีบุตรสามคนคือ ท้าวมืด ท้าวทน ท้าวเพ
       พ.2277 ท้าวแก้วถึงแก่กรรม ถือเป็นเจ้าเมืองคนที่หนึ่งและเป็นต้นบรรพบุรุษของชาวสุวรรณภูมิ
ปัจจุบัน เมืองท่งศรีภูมิคือ บ้านดงไหม่ ต.ทุ่งศรีเมือง อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด แต่ก่อนนี้บ้านดงไหม่เรียกว่า แจ้งบ้าทุ่ง


เจ้าเมืองท่งศรีภูมิคนที่1-4
       เมื่อจารย์แก้วถึงแก่กรรม เจ้ามืด ผู้เป็นบุตรของจารย์แก้ว ได้เป็นเจ้าเมืองท่งศรีภูมิคนที่สอง และเจ้ามืดคำดลมีบุตรสองคน คือท้าวเซียงและท้าวสุน แต่ครั้นลุถึงจุลศักราช 1125 ปีมะแม เบญศก พ.2306 เจ้ามืดคำดลป่วย และถึงแก่อนิจกกรมลงเมืองแสน(ผู้มีหน้าที่กำกับฝ่ายทหาร) เมืองจันทร์ (ผู้มีหน้าที่รักษาประเพณีของเมือง มีใบบอกไปยังนครจำปาศักดิ์ขอยกอุปฮาด (ตำแหน่งทำหน้าที่แทนเจ้าเมืองในเมื่อเจ้าเมืองไม่อยู่) คือท้าวทนต์ ผู้เป็นน้องชายของเท้ามืดให้เป็นผู้รักษารัชกาลเมืองท่งศรีภูมิสืบต่อมา
       ท้าวทนต์ หรือ ท้าวทนต์มณี เป็นบุตรคนที่สองของจารย์แก้ว ได้เป็นเจ้าเมืองท่งศรีภูมิคนที่สาม สืบต่อจากท้าวมืดผู้พี่(พ.2306-2310) ในระหว่างนั้นเกิดความผิดขัดแย้งกับหลานชายคือท้าวเซียงและท้าวสูน(บุตรของท้าวมืด)โดยหลานชายทั้งสองคนได้คบติดกับกรมการเมืองอันมีเมืองแสน เมืองจันทร์ ป็นต้น คิดหวังแย่งชิงเมืองท่งศรีภูมิ จากอาว (ท้าวทนต์) พร้อมใจกันไปเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ (เจ้าฟ้าเอกทัศน์) ที่พระนครศรีอยุธยา เพื่อขอกำลังขับไล่ท้าวทนมณีย์ให้พ้นจากเมืองท่งศรีภูมิ

       สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสุริยามรินทร์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพรหมพระยากรมท่านำกองทัพจากกรุงศรีอยุธยา พร้อมกับให้ท้าวเซียง และท้าวสูนเชิญท้องตราพรราชสีห์มาถึงท้าวทนต์ และแจ้งว่าจะยอมอ่อนน้อมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาโดยดี หรือจะสู้รบ ให้เลือกเอาและให้ตอบแม่ทับให้ทราบด้วยเมื่อท้าวทนต์เห็นตราพระราวสีห์และเห็นกองทัพยกมาเช่นนั้น เห็นว่าเมืองท่งศรีภูมิเป็นเมืองเล็กกำลังพลมีน้อย ไม่สามารถจะสู้รบกับกองทับของกรุงศรีอุธยาได้ จึงได้แจ้งไปยังแม่ทัพว่า ขอพึ่งบารมีพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขอเป็นข้าน้อมขัณฑสีมาขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาต่อไป ท้าวทนได้พาครอบครัวหนีไปอยู่ที่บ้านดงเมืองจอก ริมท่งตะหมูม ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภออาจสามมารถ จ. ร้อยเอ็ด ส่วนพระยากรมท่าได้มีใบบอกไปทูลพระเจ้าสุริยามริทร์ให้ทรงพระกรุณาได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งท้าวเซียงเป็นเจ้าเมืองท่งศรีภูมิ ส่วนท้าวสูสโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นอุปฮาดต่อไป







1 ความคิดเห็น: